หมอดัง เผยความเสี่ยง ที่ไทยจะเป็นอู่ฮั่นสอง

หน่วยงาน ในประเทศไทยทั้งหมด ที่ยังคงหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า จนถึง ปัจจุบัน 2024 และทุนทอดยาวไปอีกหลายปี ต้องยุติกิจกรรมดังกล่าวโดย สิ้นเชิง ไม่ว่าเงินทุนจากต่างประเทศจะมากมายเพียงใดก็ตามเป็น ร้อย เป็น พันล้าน หรือจะให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสอง

และ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังมีการตั้งบุคคลต่างชาติ ที่มีการเปิดเผยว่ามีส่วนในการร่วมมือตัดต่อพันธุกรรมและกำเนิดโควิด ที่อยู่ในบัญชี ฝังตัวทำงานอยู่ในหน่วยงานองค์กรที่สำคัญของประเทศไทย ใน คณะวิทยาศาสตร์

ศูนย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย ยุติการศึกษาวิจัยและยุติความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ

ศูนย์ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าอบรมไวรัสสัตว์สู่คน ด้วยได้ทำการค้นหาไวรัสในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2000 จาก องค์กรให้ทุนประเทศไทย คือ สกว แลเ สวทช และเป็นการเจาะจงไวร้ส โดยไม่พบ Rabies แต่เป็น lyssavirus รวมทั้งมี Nipah virus

และตั้งแต่ปี 2011 ได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐและหน่วยงานของเพนตากอน

ศูนย์ได้ประกาศยุติการทำงานดังกล่าวดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2018 และเด็ดขาดในปี 2020 โดยแจ้งให้หน่วยงานสหรัฐรวมกระทั่งถึงองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากประเมินอันตรายที่ร้ายแรงอันอาจจะเกิดขึ้น ตั้งแต่การลงพื้นที่จนกระทั่งถึงในห้องปฏิบัติการและนำมาสู่การติดเชื้อในมนุษย์และแพร่ไปยังชุมชนจนเป็นโรคระบาดทั่วประเทศ ประกอบกับเงื่อนงำของการเกิดโควิด

อีกประการที่สำคัญก็คือในปี 2018 ก่อนเกิดโควิด และ 2019 เรื่อยมาจนถึง ตุลาคม2020 มีการประชุมจัดโดยองค์กร EcoHealth alliance และให้ศูนย์เป็นหน่วยงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ EID SE Asia research collaboration hub (EID Search) ภายใต้ สถาบันสหรัฐ NIAID และ EcoHealth alliance ชื่อว่า CREID (Centre for Research in EID) โดยให้ นพ ธีระวัฒน์ รับผิดชอบ ในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าโดยเฉพาะไวรัสในตระกูลโควิด ไวรัสในตระกูลอีโบล่าและไวรัสในตระกูลนิปาห์ สมองอักเสบและปอดบวมและอื่นๆจาก ไทย ลาว มาเลเซีย ซาราวัค เป็นต้น โดยให้มีการส่งตัวอย่างไปยังต่างประเทศและระบุว่าจะมีการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์และก่อโรคได้จากหลอดทดลองและสัตว์ทดลองที่ปรับแต่งพันธุกรรมเหมือนมนุษย์ และมีรายละเอียดความสำเร็จของการสร้างไวรัสตัวใหม่ที่สามารถเข้ามามนุษย์ได้ดีขึ้นและก่อโรคได้แล้ว และเป็นที่มาที่ศูนย์ยุติความร่วมมืออย่างสิ้นเชิง

ไวรัสที่จะนำมาทดลองปรับแต่งนอกจากจะทำให้เข้ามามนุษย์และเกิดโรคแล้ว ประการสำคัญก็คือทำให้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ และเป็นที่น่าสังเกตไวรัสหลายตัวนั้นสามารถแพร่ทางอากาศได้ รายละเอียดเหล่านี้ปรากฏขึ้นก่อนการระบาดของโควิดในปลายปี 2019

เหตุการณ์และหลักฐาน ยังปรากฏ ในบทความหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ โดยนักข่าว สืบสวน David Willman (investigative journalist รางวัลพูลิตเซอร์ ) ในวันที่ 10 เมษายน 2023 เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงาน หลายประเทศ รวมทั้งจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคโรคอุบัติใหม่ ที่ยุติการรวบรวมตัวอย่างจากสัตว์ป่าและค้างคาว ถือว่า“การหาเชื้อในคนถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด”มากกว่าการหาไวรัสที่ไม่รู้จัก ที่จะมาคาดคะเนว่าจะเข้ามามนุษย์และจะเกิดโรคระบาดหรือไม่ รวมทั้งมีความเสี่ยงอันตรายสูงสุดในการนำเชื้อจากสัตว์เข้ามามนุษย์ ในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง การขนส่งตัวอย่าง และการปฎิบัติในห้องแลป รวมทั้งโอกาสที่จะได้รับไวรัสทั้งๆที่อุปกรณ์ป้องกันตัวอาจไม่ครบถ้วนและในประวัติที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ทั้งห้องปฏิบัติการของศูนย์และของหน่วยงานสัตว์ป่าถูกค้างคาวกัด

จากการประกาศจุดยืนชัดเจน และยุติกิจกรรม

ใน วันที่ 22 กรกฎาคม 2023 หน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐ U.S. government accountability office (GAO) ที่ไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองใดๆ และทำหน้าที่ ในการตรวจสอบ การทำงานของหน่วยงานของสหรัฐในเรื่องการใช้งบประมาณรวมทั้งงบที่ให้ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวได้ติดต่อ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ และศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ ในฐานะ program leader ที่ได้ทุนจาก สหรัฐ และ เพนตากอนในประเด็นว่าได้ประโยชน์หรือไม่ในการคาดคะเนว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ ได้ประโยชน์หรือไม่ในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและรับมือสำหรับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงมีการการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีหรือไม่ มีความเสี่ยงหรือไม่ในการค้นหาไวรัสจากสัตว์ป่าดังกล่าวในการที่จะได้รับเชื้อเข้ามาในมนุษย์ เข้ามาในห้องปฏิบัติการและกระจายออกสู่ชุมชนหรือไม่ และมีความพร้อมเพียงใดในการป้องกันทางชีวภาพในระดับบุคคลและห้องปฏิบัติการและการบริหารเมื่อเกิดมีบุคลากรเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

ทางศูนย์ สามารถสรุปได้ว่าการค้นหาไวรัสใหม่นั้นไม่เกิดประโยชน์ในการคาดคะเนการเกิดโรคอุบัติใหม่และไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้รวมทั้งเปิดเผยความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนต่างๆในการปฏิบัติ และมาตรการในการรับมือกับการหลุดเล็ดรอดของเชื้อจะเป็นด้วยความยากมากในสถานภาพปัจจุบัน และ เป็นเหตุผลสำคัญ ในการต้องทำลายตัวอย่างไวรัสทั้งหมด

นอกจากนั้นข้อที่ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ปี 2558 กรณีที่เกิดความเสียหายเกิดขึ้น นั่นก็คือ การรั่วไหลจากห้องปฏิบัติการหรือจากห้องเก็บตัวอย่างและเกิดความเสียหายมีการติดเชื้อ ผู้รับผิดชอบซึ่งก็คือผู้รับผิดชอบโครงการหรือหัวหน้าศูนย์จะต้องได้รับโทษตามหมวดเก้าและหมวด 10 ของพระราชบัญญัติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีตั้งแต่ การจำคุก สองปีถึง 10 ปีและปรับ จากหลักแสนเป็นหลักหลายล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามลักษณะของความเสียหายที่เกิดขึ้น

หน่วยงานในประเทศไทยยังได้รับทุนต่อเนื่องตั้งแต่ที่ศูนย์ยุติบทบาทและทำลายไวรัสทั้งหมด แม้กระทั่งในปัจจุบันในปี 2024 มีการผ่านให้ทุนจาก CDC มาไทย หลายหน่วยงาน โดยยังมีการเก็บไวรัสจากค้างคาวโดยเน้น โคโรนา นิปาห์ อีโบลา และอ้างว่าจะไม่มีการส่งตัวอย่างออกนอกประเทศ แต่ทั้งนี้ด้วยการพัฒนาการสร้างไวรัสในปัจจุบัน สามารถทำได้โดยเลือกไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมตรงกับแบบที่ต้องการ โดยมีในดาต้าเบส และทำการตัดต่อได้ให้ห้องทดลอง ดังที่ประสบความสำเร็จในการสร้างไวรัสโควิด มาแล้ว และสถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่นมีความสำเร็จในการสร้างไวรัสนิปาห์ แต่ 2018 จากการส่งไวรัสตามธรรมชาติ นิปาห์ อีโบลา จากห้องชีวะนิรภัยระดับสี่ของแคนาดาขึ้นเครื่องบินพาณิชย์จากแคนาดามาที่จีน และส่งมอบให้ เป็นต้นแบบ

ดังนั้น ที่หาย ไปจากห้องชีวะนิรภัยระดับสี่ของออสเตรเลียนั้น อาจไม่ต้องตกใจมาก เท่ากับ สิ่งที่ยังทำในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อกันเองระหว่างปฏิบัติการแพร่ไปให้ครอบครัวและชุมชนและต่อเนื่องไประดับประเทศและระดับโลก

หยุดตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่ประเทศไทยตกเป็นจำเลย ไม่ว่าจุดระบาดจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ตามที่เชื่อมโยงมายังประเทศไทย